• กฎระเบียบและข้อควรปฏิบัติของนักบวชเนกขัมมบารมีที่วัดสังฆทาน

  • กิจวัตรประจำวันของนักบวชเนกขัมมบารมีี วัดสังฆทาน

  • ขั้นตอนการบวชชีพราหมณ์ / เนกขัมมะที่วัดสังฆทาน และการลาสิกขา

  • วิธีการติดต่อขอบวชชีพราหมณ์ /เนกขัมมบารมี ที่วัดสังฆทาน

  • บวชชีพราหมณ์ / เนกขัมมบารมีที่วัดสังฆทาน : ความหมายและอานิสงส์ของการบวช

  • บวชชีพราหมณ์ / เนกขัมมบารมีที่วัดสังฆทาน

    : ความหมายและอานิสงส์ของการบวช

  • เมื่อปลายปีที่ผ่านมาตั้งใจว่าจะไปบวชชีพราหมณ์
    แต่หาข้อมูลประสบการณ์บวชทางเน็ตได้ยากมาก

    ยิ่งวัดที่ตั้งใจไปยิ่งแทบไม่มีเลยค่ะ
    ทำเอาคนไม่เคยไปบวชอย่างข้าพเจ้าปอดแหกมิใช่น้อย
    เพราะคนรอบข้างก็ไม่เคยบวชเลยแม้แต่คนเดียว
    โชคดีว่าฟ้าส่งพี่บี (Beee_bu) ผู้น่ารักแถมใจดีโทรมาเล่าประสบการณ์ให้ฟัง
    เลยคลายความกังวลได้เยอะค่ะ ขอบคุณพี่บีมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ

    ดังนั้น ข้อมูลการบวชชีพราหมณ์ที่วัดสังฆทาน จ.นนทบุรีในครั้งนี้
    ถือเป็นประสบการณ์เล่าสู่กันฟัง ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่สนใจ
    และต้องการหาข้อมูลเช่นเราไม่มากก็น้อย โดยไม่มีวัตถุประสงค์อื่นใดทั้งสิ้น
    หากมีจุดไหนผิดพลาดต้องขออภัยอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

    สำหรับบลอคเกี่ยวกับการบวชนี้ จะแบ่งออกเป็น 6 ส่วนด้วยกันคือ

    1.การบวชชีพราหมณ์คืออะไร มีอานิสงน์อย่างไร

    2.วิธีการติดต่อขอบวชชีพราหมณ์ (หรือที่เรียกว่าเนกขัมมบารมี)
    มีขั้นตอนอย่างไร และต้องเตรียมอะไรบ้าง

    3.ขั้นตอนการบวชและการลาสิกขา

    4.กิจวัตรประจำวันของเนกขัมมะ

    5.กฎระเบียบ และข้อควรปฏิบัติ

    6.รวมสถานที่สำหรับผู้สนใจบวชชีพราหมณ์

    ว่าแล้วก็เริ่มต้นกันที่หัวข้อแรกเลยนะคะ ^_^

    ความหมายและอานิสงส์

    หลายคนอาจจะสับสนเหมือนเราว่าชีพราหมณ์กับเนกขัมมะต่างกันยังไง
    คำตอบคือไม่ต่าง แค่ชื่อที่เรียกไม่เหมือนกันเท่านั้นเอง
    แต่ก็เอาความหมายของทั้งสองคำนี้มาฝากค่ะ

    ชีพราหมณ์

    เป็นคำที่ใช้เรียกอุบาสิกาที่นุ่งขาวห่มขาว
    ตั้งใจรักษาศีลปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดเช่นเดียวกับชี
    แต่ไม่ได้โกนผมโกนคิ้วอย่างชี ชีพราหมณ์จึงไม่ใช่ชี
    และไม่ใช่พราหมณ์ ชีพราหมณ์เป็นวิธีการที่จะช่วยให้อุบาสิกา
    ที่ปรารถนาจะฝึกปฏิบัติสมาธิ ฟังธรรม และพักอยู่ที่วัด
    เพื่อให้มีความสงบและรู้สึกว่าได้ละทิ้งบ้านเรือน ทรัพย์สมบัติมาจริงๆ

    แต่อุบาสิกาเหล่านั้นไม่ต้องการโกนผม โกนคิ้ว
    จึงหาคำเรียกเลี่ยงไปว่าเป็นชีพราหมณ์ให้แตกต่างจากชีโดยทั่วไป
    อุบาสิกาเหล่านี้ แม้จะไม่ได้โกนผม โกนคิ้ว ก็ตั้งใจรักษาศีล
    ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง บางท่านจึงเรียกว่า ศีลจาริณี แปลว่า หญิงผู้รักษาศีล
    (ข้อมูลจาก
    sakulthai.com)

    เนกขัมมบารมี
    เนกขัมมบารมี แปลว่า กำลังใจเต็มพร้อมในการถือบวช บวชผมยาว
    บวชผมสั้น บวชนุ่งเหลือง บวชนุ่งขาว บวชนุ่งผ้าสีลายต่างๆ บวชโกนหัว
    ไม่โกนหัวได้ทั้งนั้น เพราะบวชจริงๆ แล้วคือ การบวชใจ จะอยู่บ้าน
    อยู่วัด ก็บวชได้เต็มที่ได้บุญครบถ้วน
    คลิกอ่านแบบเต็มๆ

    การถือศีลในระหว่างบวช ก็คือศีล 8 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

    ศีล 8 หรือ อัฏฐศีล (การรักษาระเบียบทางกายวาจา,
    ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ยิ่งขึ้นไป
    - the Eight Precepts; training rules)

    1. ปาณาติปาตา เวรมณี
    (เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป - to abstain from taking life)

    2. อทินฺนาทานา เวรมณี
    (เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย
    - to abstain from taking what is not given)

    3. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี
    (เว้นจากกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์,
    เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือร่วมประเวณี
    - to abstain from unchastity)

    4. มุสาวาทา เวรมณี (เว้นจากการพูดเท็จ - to abstain from false speech)

    5. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี
    (เว้นจากน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
    - to abstain from intoxicants causing heedlessness)

    6. วิกาลโภชนา เวรมณี
    (เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
    คือตั้งแต่เที่ยงแล้วไป จนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่
    - to abstain from untimely eating)

    7. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนมาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี
    (เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อ
    พรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้
    ซึ้งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง - to abstain from dancing, singing,
    music and unseemly shows, from wearing garlands,
    smartening with scents, and embellishment with unguents)

    8. อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี
    (เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่หรูหราฟุ่มเฟือย
    - to abstain from the use of high and large luxurious couches)


    ลองอ่านเพิ่มเติมได้
    ลานธรรมเสวนา นะคะ มีประโยชน์มากๆ เลย
    และขอแจ้งนิดนึงว่าแป้งเด็กก็ทาไม่ได้นะจ๊ะ เห็นคนที่ไปบวชทากันเยอะเชียว

    อานิสงส์การบวชพระ-บวชชีพรามณ์

    [บวชชั่วคราวเพื่อสร้างบุญ, อุทิศให้พ่อแม่-เจ้ากรรมนายเวร]


    1. หน้าที่การงานจะเจริญรุ่งเรือง ได้ลาภ ยศ สรรเสริญตามปรารถนา

    2. เจ้ากรรมนายเวรจะอโหสิกรรม หนี้กรรมในอดีตจะคลี่คลาย

    3. สุขภาพแข็งแรง สติปัญญาแจ่มใส ปัญหาชีวิตคลี่คลาย

    4. เป็นปัจจัยสู่พระนิพพานในภพต่อๆ ไป

    5. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง โพยภัยอันตรายผ่อนหนักเป็นเบา

    6. จิตใจสงบ ปล่อยวางได้ง่าย มองเห็นสัจธรรมแห่งชีวิต

    7. เป็นที่รักที่เมตตามหานิยมของมวลมนุษย์มวลสัตว์และเหล่าเทวดา

    8. ทำมาค้าขึ้น ไม่อับจน การเงินไม่ขาดสายไม่ขาดมือ

    9. โรคภัยของตนเอง ของพ่อแม่ และของคนใกล้ชิดจะเบาบางและรักษาหาย

    10. ตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ได้เต็มที่

    สำหรับผู้ที่บวชไม่ได้เพราะติดภาระกิจต่างๆ
    ก็สามารถได้รับอานิสงส์เหล่านี้ได้ด้วยการสร้างคนให้ได้บวชสนับสนุนส่งเสริมอาสาการให้คนได้บวช


    ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10392




    อ่านคร่าวๆ อาจดูเหมือนการบวชชีพราหมณ์จะง่ายและเลิศเลอ
    ไม่ต้องลงทุนมากแต่ก็ได้ผลมหาศาล แต่แท้จริงแล้วการจะให้ได้ผลเช่นนั้น
    จะต้องปฏิบัติธรรมอย่างตั้งใจและรักษาศีลให้บริสุทธิ์
    ซึ่งไม่ได้ยากเกินความพยายามเลยค่ะ อยู่ที่ว่าจะลงมือทำหรือไม่เท่านั้น


    ลองอ่านกันต่อไปดูนะ ศึกษาธรรมะไว้มีแต่ผลดีจ้า


    ตอนสอง วิธีการติดต่อขอบวชชีพราหมณ์ (หรือที่เรียกว่าเนกขัมมบารมี)
    มีขั้นตอนอย่างไร และต้องเตรียมอะไรบ้าง

  •  อานิสงส์การบวชพระ-บวชชีพราหมณ์

    [บวชชั่วคราวเพื่อสร้างบุญ, อุทิศให้พ่อแม่-เจ้ากรรมนายเวร]

    1. หน้าที่การงานจะเจริญรุ่งเรือง ได้ลาภ ยศ สรรเสริญตามปรารถนา

    2. เจ้ากรรมนายเวรจะอโหสิกรรม หนี้กรรมในอดีตจะคลี่คลาย

    3. สุขภาพแข็งแรง สติปัญญาแจ่มใส ปัญหาชีวิตคลี่คลาย

    4. เป็นปัจจัยสู่พระนิพพานในภพต่อๆ ไป

    5. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง โพยภัยอันตรายผ่อนหนักเป็นเบา

    6. จิตใจสงบ ปล่อยวางได้ง่าย มองเห็นสัจธรรมแห่งชีวิต

    7. เป็นที่รักที่เมตตามหานิยมของมวลมนุษย์มวลสัตว์และเหล่าเทวดา

    8. ทำมาค้าขึ้น ไม่อับจน การเงินไม่ขาดสายไม่ขาดมือ

    9. โรคภัยของตนเอง ของพ่อแม่ และของคนใกล้ชิดจะเบาบางและรักษาหาย

    10. ตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ได้เต็มที่ สำหรับผู้ที่บวชไม่ได้
    เพราะติดภาระกิจต่างๆ ก็สามารถได้รับอานิสงส์เหล่านี้ได้
    ด้วยการสร้างคนให้ได้บวชสนับสนุนส่งเสริมอาสาการให้คนได้บวช

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10392

     
    http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=hobbit&month=01-2008&date=01&group=7&gblog=32

     

     

    ขั้นตอนการบวชชีพราหมณ์ / เนกขัมมะที่วัดสังฆทาน และการลาสิกขา

    ในตอนแรกจะมีแม่ชีมาอบอรมขั้นตอนให้ค่ะ
    ให้เราหยิบใบขาวๆ ที่บอกรายละเอียดบทสวดต่างๆไว้มาหนึ่งชุด

    เมื่อพระท่านมาถึงแล้วให้กราบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง
    แล้วสวดมนต์ตามขั้นตอนในใบนั้นค่ะ
    เอาที่เกี่ยวกับการขอบวชมาให้อ่านคร่าวๆนะคะ

    คำขอบวชเนกขัมมะ

    เอสาหัง ภันเต/ สุจิระปะรินิพพุตัมปิ/ ตัง ภะคะวันตัง/
    สะระณัง คัจฉามิ/ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ/ ปัพพัชชัง
    มัง ภันเต/ สังโฆ ธาเรตุ/ อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง/ สะระณัง คะตัง.

    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ/ ข้าพเจ้าขอถึงสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า/
    แม้เสด็จดับขันธปรินิพพานนานแล้ว/ กับทั้งพระธรรม และพระสงฆ์/
    ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก/ ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่า/ เป็นผู้บวชใน
    พระธรรมวินัย/ ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต/ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป.


    คำอาราธนาศีล 8

    มะยัง* ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ/ อัฏฐะ สีลานิยาจามะ*/
    ทุติยัมปิ มะยัง* ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ/ อัฏฐะ สีลานิยาจามะ*/
    ตะติยัมปิ มะยัง* ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ/ อัฏฐะ สีลานิยาจามะ*/

    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย* ขอสมาทานศีล 8 ประการ
    พร้อมทั้งไตรสรณคมน์.
    แม้ครั้งที่ 2 ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย* ขอสมาทานศีล 8 ประการ
    พร้อมทั้งไตรสรณคมน์.
    แม้ครั้งที่ 3 ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย* ขอสมาทานศีล 8 ประการ
    พร้อมทั้งไตรสรณคมน์.

    หมายเหตุ*
    ถ้าคนเดียวใช้คำว่า อะหัง แทน มะยัง
    ยาจามิ แทน ยาจามะ
    ข้าพเจ้า แทน ข้าพเจ้าทั้งหลาย

    ศีล 8
    1. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
    (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการฆ่าสัตว์)

    2. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
    (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้)

    3. อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
    (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการประพฤติที่ไม่ใช่พรมจรรย์)

    4. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
    (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการพูดเท็จ)

    5. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
    (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุรา เมรัย
    และสิ่งเสพติดอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท)

    6. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
    (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล)

    7. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา,มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะ
    วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
    (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี
    ดูการเล่นชนิดที่เป็นข้าศึกต่อกุศล และการทัดทรงสวมใส่เครื่องประดับ
    ตกแต่งกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องผัดทาย้อมผิว)

    8. อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
    (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท เว้นจากการนั่งนอนบนที่สูงและที่นอนใหญ่)


    คำสรุปท้ายศีล 8

    อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ
    (ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท 8 ประการเหล่านี้)

    หมายเหตุ พระกล่าวครั้งเดียว ผู้สมาทานกล่าว 3 ครั้ง


    จากนั้นพระจะสวดแสดงอานิสงน์ของศีล เราก็รับว่า "สาธุ" ค่ะ

    เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการสวดแล้ว
    พระท่านจะสอนธรรมะแนะแนวการปฏิบัติสมาธิ
    รวมถึงให้กรรมฐานแก่นักบวชเนกขัมมะทุกคน


    เพียงเท่านี้เราก็พร้อมจะปฏิบัติธรรมกันแล้ว
    แต่จะปฏิบัติอะไรบ้างนั้น คลิกอ่านได้ที่บลอคหน้าจ้ะ

    กิจวัตรประจำวันของเนกขัมมะ

     

    กิจวัตรประจำวันของนักบวชเนกขัมมบารมีี วัดสังฆทาน
    03.30 น. ระฆังทำวัตรเช้า
    04.00 น. ทำวัตรเช้า
    05.30 น. ทำความสะอาดสถานที่ และพระภิกษุ-สามเณรเตรียมตัวออกรับบิณฑบาต
    07.00 น. รับน้ำปานะ
    07.30 น. แม่ชี-เนกขัมมะ เดินจงกรม
    09.15 น. ระฆังฉันภัตตาหาร (วันพระ, วันหยุด, 09.30 น.)
    12.00 น. ระฆังทำวัดกลางวัด (วันพระ, วันหยุด, 12.30 น.)
    12.30 น. ทำวัดกลางวัน (วันพระ,วันหยุด, 13.00 น.)
    15.30 น. ระฆังปัดกวาดทำความสะอาด
    16.30 น. แม่ชี-เนกขัมมะ เดินจงกรม
    17.00 น. พระภิกษุ-สามเณร รับน้ำปานะ
    17.30 น. แม่ชี-เนกขัมมะ รับน้ำปานะ
    18.00 น. ระฆังทำวัตรเย็น (วันพระ, วันเสาร์, 19.00 น.)
    19.00 น. ทำวัตรเย็น (วันพระ, วันเสาร์, 20.00 น.)

    หมายเหตุ (๑) วันพระ, วันเสาร์ และโอกาสพิเศษ
    รับศีลอุโบสถฟังธรรม-ปฏิบัติธรรมตลอดรุ่ง (เนสัชชิก)
    และช่วงเช้าสวดมนต์พิเศษ ๐๘.๔๕ น. ,
    (๒) วันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ (เดือนเพ็ญ) มีการเวียนเทียน ๔ ครั้ง
    (เวลา ๒๐.๐๐ น., ๒๔.๐๐ น.และ ๐๔.๐๐ น.)
    วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพิ่มรอบ ๑๖.๐๐ น.


    ได้นอนประมาณ 4 ทุ่ม- 4 ทุ่มครึ่ง
    ระฆังทำวัตรเช้าจะดังตอนตีสามครึ่ง
    แต่ส่วนใหญ่แล้วคนจะตื่นกันตั้งแต่ตีสามค่ะ
    เพราะจะได้เข้าห้องน้ำแบบสบายๆ ไม่แออัด


    พอทำวัตรเสร็จแล้วเดินมาตรงโรงครัวแถวๆ สหกรณ์จะมีตักบาตรกัน
    จากนั้นก็ทำความสะอาดวัดตามแต่ถนัด
    ็เช่น กวาดลานวัด กวาด-ถูพื้นโบสถ์ ขัดห้องน้ำ
    ช่วยงานแม่ชีและเจ้าหน้าที่ในวัด ฯลฯ
    สิ่งเหล่านี้ทางวัดไม่ได้บังคับจิตใจ แล้วแต่ความสมัครใจค่ะ
    (แต่ก็เป็นสิ่งที่ควรทำนะ ^^)


    เห็นบางคนบ่นว่าไม่อยากทำเพราะเดี๋ยวไม่มีเวลาปฏิบัติ
    แต่จริงๆ แล้วสมถะกับวิปัสนามันไปด้วยกันได้
    เวลาทำวัตร นั่งสมาธิ หรือสวดมนต์ก็ทำสมถะไป
    ส่วนเวลาทำงานช่วยทางวัด สร้างบุญบารมี
    เราก็สามารถพิจารณากายและจิตเป็นวิปัสนาได้
    แถมวัดสะอาดน่าพักอาศัยด้วย


    สำหรับคนที่กลัวหิว ที่นี่มีน้ำปานะให้ดื่มตลอด
    สำหรับน้ำปานะช่วงเจ็ดโมงจะเป็นน้ำที่อยู่ท้องหน่อย
    เช่นน้ำลูกเดือย ฟักทอง โอวัลติน (อร่อยทุกอย่างเลย)
    ส่วนหลังทานข้าวแล้วจะเป็นเบาๆ เช่นชาดำเย็น มะตูม น้ำส้มสกัด ฯลฯ
    จะซื้อน้ำผลไม้ที่สหกรณ์ทานเองก็ได้ ที่นั่นจะมีป้ายบอกไว้ว่าอันไหนทานได้ไม่ผิดศีลค่ะ

    ถ้าใครนั่งสมาธิแล้วปวดเมื่อยต้องไม่พลาดน้ำพญาเสือโคร่ง
    เพราะแก้ปวดเมื่อยได้ดีเลยทีเดียวเชียว


    ส่วนเนสัชชิก ถ้าใครสามารถอดนอนได้ ขอแนะนำเลยค่ะ
    ตลอดช่วงที่บวช ก็มีช่วงนี้นี่แหละที่เรารู้สึกว่าบรรยากาศสงบที่สุดแล้ว
    ธรรมะที่พระอาจารย์เทศน์ก็จับใจมาก


    โดยคร่าวๆก็ประมาณนี้นะคะ


    กฎระเบียบ และข้อควรปฏิบัติ

  • กฎระเบียบและข้อควรปฏิบัติของนักบวชเนกขัมมบารมีที่วัดสังฆทาน

    ระเบียบของวัดสังฆทานว่าด้วยผู้บวชเนกขัมมปฏิบัติ (หญิง)

    เตรียมตัวก่อนรับศีล

    ๑. ผู้ที่บวชเนกขัมมาปฏิบัติ (ไม่ปลงผม) ให้อยู่ปฏิบัติได้ไม่เกินครั้งละ ๗ ราตรี
    นอกจากเป็นผู้ทำงานช่วยวัด หรือเป็นผู้ที่พระ, เจ้าหน้าที่ หรือหัวหน้าแม่ชีรับรองให้อยู่ต่อได้

    ๒. ต้องนำหลักฐานต่อไปนี้ คือ รูปถ่าย ๒ นิ้ว ๑ รูป สำเนาทะเบียนบ้าน
    บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ (พร้อมสำเนา) มายื่นต่อเจ้าหน้าที่ในวันสมัครบวช

    ๓. ผู้ที่เคยมาสมัครบวชแล้วและได้กรอกประวัติโดยละเอียดลงในใบสมัครบวชครั้งแรก
    เมื่อจะบวชในครั้งต่อไป ไม่ต้องกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติลงในใบสมัครซ้ำอีก
    เพียงแต่เซ็นชื่อและนำบัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการ มาสมัครบวชได้ที่ทำการรับสมัครบวช

    ๔. ให้เตรียมเครื่องนุ่งห่มที่ถูกต้องตามแบบที่ทางวัดกำหนดไว้แล้วเท่านั้น ห้ามใช้ผ้าสไบลูกไม้ สไบที่ถัก

    ๕. ห้ามรับจ้างบวชแก้บนแทนผู้อื่น ห้ามหญิงมีครรภ์ หญิงแม่ลูกอ่อน

    หญิงที่มีสามีหรือผู้ปกครองไม่อนุญาตและผู้ป่วยทางกายและจิต
    ทั้งไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่พิจารณาให้บวชในสำนักนี้
    ต้องเป็นผู้ไม่กระทำความผิดอันกฎหมายระบุไว้ว่าเป็นความผิด

    ๖. ต้องเป็นผู้ไม่กระทำความผิดอันกฏหมายระบุไว้ว่าเป็นความผิด

    ๗. ห้ามนำของมีค่าติดตัวมา และห้ามแต่ตัวด้วยเครื่องประดับต่างๆ
    หากฝ่าฝืนเกิดการสูญหายทางวัดจะไม่รับผิดชอบ

    ๘. ต้องอาราธนาศีล ๕ และศีล ๘ ได้ด้วยตนเอง

    การปฏิบัติตัวขณะปฏิบัติธรรมอยู่ในวัด

    ๑. ไม่ควรมีกิจธุระภายนอกในขณะถือบวช ควรทำกิจภายนอกให้เรียบร้อยก่อน
    ห้ามนำโทรศัพท์มือถือหรือสัญญาณติดตามตัวเข้ามาใช้ในช่วงบวช

    ๒. ไม่เป็นผู้เสพของเสพติด ของมึนเมาทุกชนิด เช่น หมาก พลู
    บุหรี่ นัดยานัตถุ์ และสิ่งเสพย์ติดอื่นๆ

    ๓. ต้องทำวัตรสวดมนต์เจริญพระกัมมัฏฐานทุกวัน เช้า กลางวัน เย็น
    และเดินจงกรมในเวลาที่ทางวัดกำหนด เมื่อทำกิจวัตรสวดมนต์ เดินจงกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว
    ต้องรีบกลับที่พักของตน (หากทางวัดมีกิจกรรม อาจได้รับการยกเว้น)
    และเมื่อมีเหตุจำเป็นที่จะทำวัตรสวดมนต์ไม่ได้ ต้องแจ้งให้หัวหน้าแม่ชีทราบ

    ๔. ต้องช่วยเหลือกิจกรรมภายในวัด เช่น ทำความสะอาด ปัดกวาดทั้งที่ส่วนรวมและที่อยู่ของตน
    ต้องช่วยกันทำและรักษาความสะอาดห้องน้ำส่วนรวมทุกวัน ในเวลาหลังจากที่เลิกทำวัตรเช้าแล้ว
    ห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด ผ้าอนามัยควรใส่ถุงพลาสติกห่อกระดาษให้มิดชิด แล้วนำไปทิ้งในถังขยะ ห้ามนำไปทิ้งในโถส้วม

    ๕. ห้ามจับกลุ่มคุยกันเสียงดัง และห้ามรับแขกในที่พัก ให้รับแขกที่โรงตักอาหาร
    ห้ามพูดคุยกับโยมผู้ชายตามลำพัง ยกเว้นเพื่อนผู้หญิงอยู่ด้วย ต้องเป็นคนว่านอนสอนง่าย
    อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่อวดดื้อถือตัว ไม่ประพฤติตัวให้เป็นภาระกับผู้อื่น เป็นผู้สำรวม
    เป็นผู้มีมารยาทอันเรียบร้อยสงบ เป็นผู้ใคร่ต่อความเพียรในการเจริญสติปัฏฐานสี่ทั้งกลางวันและกลางคืน

    ๖. ห้ามดูหมอ เล่นไสยศาสตร์ บวงสรวงถือเจ้าเข้าทรง

    ๗. เมื่อมีกิจธุระที่ศาลา หรือประสงค์ที่จะพบพระรูปใดรูปหนึ่ง ต้องมีเพื่อนไปด้วยทุกครั้ง
    ขณะสนทนากับพระหรือสวนทางกับพระ จะต้องนั่งลงประนมมือทุกครั้ง

    ๘. เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องออกนอกวัด ต้องบอกกับแม่ชีเจ้าหน้าที่
    และจะต้องมีเพื่อนไปด้วยทุกครั้ง วันพระไม่ควรออกนอกวัด

    ๙. ต้องรับประทานอาหารมื้อเดียว ภาชนะเดียว ต้องสำรวม มีสติในการพิจารณาตักอาหาร
    ต้องไม่แซงแถว ไม่ตัดแถว ไม่พูดคุยกันเสียงดังในขณะตักอาหารที่โรงตัก
    ไม่รับประทานอาหารในที่พัก ต้องออกมารับประทานในที่ส่วนรวม
    เมื่อรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่ม ต้องนั่ง ห้ามยืน ห้ามนั่งเท้าแขนรับประทานอาหาร
    ห้ามดื่มนมโอวัลติน น้ำเต้าหู้ และของเคี้ยวทุกชนิดหลังเที่ยงวันไปแล้วจนตลอดรุ่งราตรี
    ยกเว้นสมอ และมะขามป้อม ห้ามเก็บอาหารไว้ในที่พัก ห้ามหุงต้มอาหารในที่อยู่โดยเด็ดขาด
    ถ้ามีความจำเป็นควรเก็บหรือประกอบอาหารในโรงครัว

    ๑๐. เมื่อรับศีล และลาศีลทุกครั้ง จะต้องมีแม่ชีพี่เลี้ยงไปด้วย

    ๑๑. เมื่อลาศีลแล้ว ห้ามรับประทานอาหารที่ร้านค้า หรือนอกเวลาในชุดนักบวช ต้องเปลี่ยนเป็นชุดอื่นก่อน
    (เวลา ๑๗.๐๐ น. ผู้สมัครบวชเนกขัมมปฏิบัติในวันนี้ทุกท่าน ให้มาพร้อมกันที่รับสมัครบวชหญิงชั้นล่างพระอุโบสก)



    เท่าที่เห็น ทางวัดหยวนๆให้ใช้มือถือได้บ้าง
    แต่ต้องปิดเสียงเอาไว้และอย่าคุยรบกวนคนอื่น
    ถ้าจะคุยก็ควรคุยเบาๆ หรือไปคุยที่อื่นดีกว่า
    เพราะเห็นหลายคนคุยข้างๆคนทำสมาธิเสียงดังเชียว (เจอมากะตัว)
    มันจะเป็นบาปไปเปล่าๆ น่ะค่ะ


    โดยรวมๆแล้ว ค่อนข้างอิสระเสรีพอสมควร
    มีความสงบดี บรรยากาศวัดก็เอื้อต่อการปฏิบัติ
    ถ้าไปช่วงที่ไม่ใช่เทศกาลสำคัญก็ถือว่าดีเลยค่ะ

    แต่ถ้าเพื่อนๆสนใจอยากไปที่อื่นๆด้วยก็เชิญบลอคหน้านะจ๊ะ

    .

    วิธีการติดต่อขอบวชชีพราหมณ์ /เนกขัมมบารมี ที่วัดสังฆทาน

    ที่นี่จะบวชได้ไม่เกิน 7 วัน หากจะอยู่ต่อได้ต้องมีคนในวัดรับรองให้ค่ะ
    ส่วนค่าใช้จ่ายนั้นไม่มีการเรียกเก็บแต่อย่างใด
    จะบริจาคเท่าไหร่ก็แล้วแต่ศรัทธาล้วนๆ บวชเสร็จแล้วช่วยกันบริจาค
    ค่าไฟ ค่าน้ำสักนิด จะได้ช่วยให้คนรุ่นต่อๆไปได้บวชด้วย เป็นการทำบุญอีกทางเนาะ ^^

    สิ่งที่ต้องเตรียม
    นอกจากใจศรัทธาแล้วก็มีสิ่งอื่นๆที่ต้องเตรียมดังนี้ค่ะ

    ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว
    เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม หวี ยาประจำตัว รองเท้าแตะ ฯลฯ
    ควรเตรียมชุดชั้นในจำนวนพอดีกับวันที่ไปบวช
    พร้อมผงซักฟอก ไม้แขวนเสื้อ (ถ้าเตรียมเสื้อผ้าไปพอดีก็ไม่ต้องค่ะ)
    ที่ควรเตรียมไปเพราะหลายคนซักตากกันเรียงรายตามระเบียงนอกห้อง
    บางจุดคนสามารถมองเห็นได้ ก็จะดูไม่งามเท่าไหร่ค่ะ

    ที่สำคัญอีกอย่างคือถุงพลาสติกสำหรับใส่เสื้อผ้าใช้แล้ว
    และถุงเล็กๆ สำหรับทิ้งขยะเวลาทานข้าว
    เพราะเวลาทานข้าวไม่ควรทิ้งเศษอาหารลงในภาชนะค่ะ


    ส่วนที่แนะนำเป็นการส่วนตัวคือที่อุดหูค่ะ
    หากนอนรวมกันมากๆ แล้วคุณเป็นคนหลับยาก
    สิ่งนี้จะจำเป็นมากๆ เพราะเสียงกรนและเสียงหมาหอน
    อาจจะทำให้หลับไม่ลงตลอดคืนทีเดียว
    แก้ได้ง่ายๆ ด้วยการเอานิ้วอุดหู หรือไม่ก็ใส่ที่อุดหูนะคะ
    (แต่ถ้าไปช่วงคนน้อยได้ห้องเดี่ยวก็ไม่มีปัญหาค่ะ)

    เครื่องแต่งกายนักบวช

    1.เสื้อขาว
    2.ผ้าสไบสีขาว (สำหรับวัดสังฆทานต้องเป็นแบบเรียบๆ
    ห้ามมีลูกไม้หรือลวดลายใดๆ)
    3.ผ้านุ่งสีขาวพร้อมเข็มขัดคาดเอว เป็นผ้าหรือโลหะก็ได้
    (ถ้าใช้แบบผ้าถุงสำเร็จก็ไม่ต้องใช้เข็มขัดค่ะ)
    4.Petticoat ซับในกระโปรงกันโป๊ จำเป็นมากนะคะ
    5.เสื้อซับในสีขาว ปกติเสื้อจะบาง นอกจากห่มสไบแล้ว
    มีตัวนี้ไว้ก็ดีค่ะ อุ่นใจว่าสุภาพ ไม่โป๊แน่
    ยังไงก็ใส่บราสีขาวหรือเนื้อก็พอนะคะ เห็นบางคนใส่สีดำเห็นชัดมาก
    เราเป็นผู้หญิงเห็นแล้วยังสยิวแทน
    6.รองเท้าแตะเรียบๆ สีอะไรก็ได้ที่แบบดูเหมาะสม


    ชุดเหล่านี้ซื้อได้ตามบางลำพู ร้านสังฆภัณฑ์ หรือตามวัดที่มีบวช
    ซึ่งที่วัดสังฆทานก็มีขายที่สหกรณ์ใกล้ๆโรงครัวค่ะ
    ที่เราซื้อมาก็มี....

    เสื้อขาว+ผ้านุ่งสำเร็จ+Petticoat อย่างละ 2 ตัว
    และ ผ้าสไบอีก 1 ผืน
    เป็นเงิน 760 บาทค่ะ (ราคา ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2550)

    หรืออีกทางหนึ่งคือเช่าเอาที่วัด
    ชุดละ 40 บาท + ค่าซัก 20 บาท
    รวมเป็นเงิน 60 บาทต่อชุด
    (ราคา ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2550)


    ส่วนที่นอนหมอนมุ้ง และอาหารการกินทางวัดมีให้พร้อมจ้า



    หลักฐานประจำตัว

    นำเอาบัตรประชาชนไป 1 ใบค่ะ
    ทางวัดจะเอาไปถ่ายเอกสาร และจะถ่ายรูปทำบัตรให้เลย
    เสียค่าบริการเพียงเล็กน้อย

    หรือจะถ่ายเอกสารแล้วนำรูปไปเองก็ได้
    ใช้ขนาด 2 นิ้ว 1 รูปค่ะ



    เบอร์ติดต่อและแผนที่สำหรับเดินทางไปที่วัด

  • ข้อมูลโดยคุณ ดุสิตธานี
    กระทู้
    http://www.dhammajak.net/

    board/viewtopic.php?t=13742&postdays=0&postorder=asc&start=30


    ขั้นตอนการบวช

    การบวชที่วัดนี้ สามารถบวชได้ทุกวันโดยไม่ต้องโทรจองก่อน
    แต่หากเป็นช่วงเทศกาลที่คนเยอะมากๆ เช่นปีใหม่
    หรือวันสำคัญทางศาสนาอื่นๆ แนะนำว่าโทรสอบถามก่อนก็ดีค่ะ
    ว่าพอจะมีที่พักเหลือหรือเปล่า

    เมื่อไปถึงแล้ว จากป้ายหน้าวัด ให้เดินเลี้ยวซ้ายเข้ามาในวัด
    แล้วมองไปทางขวามือ จะเห็นป้ายบอกทางติดต่อขอบวช
    (ตรงอุโบสถแก้วตรงข้ามที่ขายดอกไม้)
    เมื่อเข้าไปแล้วเดินลงตามทางใต้ดิน
    ก็จะพบกับจุดติดต่อขอบวชค่ะ



    .
    ภาพจาก http://www.dhammajak.net/

    board/viewtopic.php?t=13742&postdays=0&postorder=asc&start=0
    โดยคุณตะแง้ว


    เมื่อไปถึงให้กรอกใบสมัครสีขาวๆ ก่อน
    แล้วไปยื่นให้จนท. จากนั้นเค้าจะขอหลักฐานเอกสารเรา
    ถ้ามีแค่บัตรประชาชนก็ยื่นให้เค้าไปถ่ายเอกสาร
    เค้าจะถ่ายภาพเราเก็บไว้ด้วย แล้วให้เราลงชื่อในสมุดว่าถ่ายเป็นลำดับที่เท่าไหร่
    จากนั้นก็จะให้บัตรประจำตัวมา ซึ่งต้องใช้ตอนลาสิกขาด้วย
    หากทำหายจะต้องเสียค่าทำบัตรใหม่ค่ะ


    แต่ถ้าเป็นคนที่เคยมาบวชแล้ว ไม่ต้องกรอกใบสมัครซ้ำอีก
    เพียงแต่เซ็นต์ชื่อพร้อมยื่นบัตรประชาชนก็พอค่ะ


    จากนั้นจนท.จะแจ้งว่าเราได้พักที่ไหน
    เราก็ไปที่พักนั้นๆ แล้วเปลี่ยนเป็นชุดขาว
    ซึ่งที่พักมีหลายจุดอยู่เหมือนกัน แล้วแต่เค้าจะจัดไป
    สำหรับเราพักตรงชั้นสองของโรงครัวค่ะ เป็นห้องพักรวม
    ไม่แออัด แล้วก็ไม่ไกลจากห้องน้ำซักเท่าไหร่
    (ถ้าใครไปคงได้เห็นแมวเฝ้ายามอยู่สองตัว น่ารักมั่กๆ)



    ภาพจาก http://www.dhammajak.net/

    board/viewtopic.php?t=13742&postdays=0&postorder=asc&start=0
    โดยคุณตะแง้ว


    เมื่อถึงเวลา 5 โมงเย็นก็ให้มาที่อุโบสถแก้ว

    เพื่อทำพิธีขอศีลจากพระภิกษุค่ะ

    http://wikimapia.org/#lat=13.8256568&lon=100.4921043&z=18&l=0&m=a&v=2 

    [ แผนที่ ดาวเที่ยม ] คลิกแถวบน คลิค >> ooo    aaaa

    สำนักงานวัดสังฆทาน โทร.02-496-1240-42  ต่อ 130,   แฟกซ์ 02-496-1243

    .

  • Advertising Zone    Close

    ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...